contents
ข้อมูลข่าวสารในการดำรงชีวิต
ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ
กาีรให้้คำปรึกษาสำหรับชาวต่างชาติ
การเรียนภาษาญี่ปุ่น
ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดอิบารากิเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ แผนกการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
มุมข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับI.I.A
ติดต่อสอบถาม
การเชื่อมโยง – ลิงค์
มุมข้อมูลข่าวสาร

หน้าแรก> เกี่ยวกับI.I.A >มุมข้อมูลข่าวสาร

ข่าวสารจากนิตยสารประจำจังหวัด 「ฮิบาริ」

งานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองครั้งที่ 27

จังหวัดอิบารากิมีกำหนดการจัด “งานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองจังหวัดอิบารากิ” ซึ่งรวบรวมผลงานชิ้นเยี่ยมจำนวนมากสร้างสรรค์โดยศิลปินและกลุ่มช่างฝีมือ ภายในงานนอกจากจะมีการสาธิตการประดิษฐ์โดยช่างฝีมือ การจัดแสดงจัดจำหน่ายสินค้า และเปิดให้เข้าร่วมทดลองประดิษฐ์ด้วยแล้ว ยังมีการแนะนำผลงานชิ้นใหม่และการจับรางวัลอีกด้วย

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 5 – วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 10.00-16.00

สถานที่ : ศาลากลางจังหวัด ชั้น 2 ณ หอประชุมจังหวัด (เคนมิน ฮอลล์)

 

 

ล๊อบบี้ชมวิวศาลากลางจังหวัดช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (29 ธันวาคม – 3 มกราคม)

ล๊อบบี้ชมวิวชั้น 25 ศาลากลางจังหวัดอิบารากิเปิดทำการตลอดไม่มีวันหยุดช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

เวลาทำการ : 10.00 – 20.00 (เวลาปกติ)

วันขึ้นปีใหม่ : เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 5 นาฬิกาเพื่อให้ประชาชนได้รับชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันแรกของปี

เวลาที่คาดว่าพระอาทิตย์ในวันแรกของปีจะขึ้นคือ ช่วงเวลาประมาณ 6 นาฬิกา 49 นาที

ทางจังหวัดอาจจำกัดจำนวนผู้เข้าชมหากมีผู้เข้าชมมาก

 

 

ระวังภัยจากโจรขโมย

ช่วงสิ้นปีเป็นช่วงเวลาที่เกิดอาชญากรรมต่างๆขึ้นมาก อาทิ คดียกเค้า คดีทุบรถเพื่อขโมยทรัพย์สิน และคดีวิ่งราวทรัพย์ เป็นต้น

■เมื่อออกนอกบ้านหรือหากต้องห่างจากตัวรถ แม้จะเป็นระยะเวลาไม่นานควรล๊อคกุญแจทุกครั้ง และไม่ควรทิ้งทรัพย์สินมีค่าเอาไว้

■ถือหรือสะพายกระเป๋าไว้ข้างลำตัวฝั่งที่ตรงข้ามกับริมถนน


แนะนำเทศกาลสำคัญของเดือนกรกฎาคม โดยสมาคมการท่องเที่ยวอิบารากิ

บันทึกเที่ยวน้ำตก โอคุคุจิฟุคุโรตะ “บันทึกเที่ยวน้ำตกยามเหมันต์”

น้ำตกฟุคุโรตะถูกจัดให้เป็น 1 ใน 3 ของน้ำตกขึ้นชื่อของญี่ปุ่น ในยามค่ำคืนอันเงียบสงบท่านจะสามารถรับชมทิวทัศน์อันงดงามดุจดังภาพในจินตนการของน้ำตกฟุคุโรตะได้

วันเริ่มงาน : วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (วันหยุดราชการ) – วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

สถานที่ : น้ำตกฟุคุโรตะ (ตำบลไดโกะ)

 

เทศกาลลุยไฟ (เทศกาลฮิวาตาริ)

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่ออธิษฐานขอต่อเทพเจ้าให้ปราศจากเคราะห์ร้ายและภัยพิบัติตลอดทั้งปี และขอให้มีชีวิตยืนยาว อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยในบริเวณศาลเจ้าจะมีการนำไม้ฝืนมากองสุมไฟ แล้วให้ชายหญิงที่สวดอธิษฐานต่อเทพเจ้าเดินเท้าเปล่าลุยข้ามกองฝืน

วันเริ่มงาน : วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ : ศาลเจ้าคาบะซันซาเอนะซุมิ (อำเภอซากุระกาวะ)

 

เทศกาลโคกะโจจินซาโอะโมมิ ครั้งที่ 151

เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในวันงานกลุ่มคณะต่างๆภายในอำเภอจะให้หนุ่มสาวร่วม 20 คนร่วมกันถือม้าไม้ไผ่ความยาวประมาณ 18 เมตรซึ่งติดโคมไฟไว้ที่ปลาย ต่อสู้แข่งขันกันดับไฟในโคมของแต่ละกลุ่มอย่างดุเดือด

วันเริ่มงาน : วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ : จุดก่อสร้างตามกำหนดการบริเวณสถานีโคกะทางออกทิศตะวันตกบนทางหลวงสายไดเซอิน (อำเภอโคกะ)

 


ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของอิบารากิไกด์ นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้วยังมีภาษาอังกฤษ จีน และเกาหลี

http://www.ibarakiguide.jp/

สังคมที่มีการพึ่งพาอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างบุคคลจากต่างวัฒนธรรม~เกร็ดความรู้ต่างๆสำหรับการดำเนินชีวิตให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข~
ความแตกต่างของประเทศและวัฒนธรรมนั้นอาจจะส่่งผล ให้ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่างๆนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือถูกเข้าใจผิดซึ่งกันและกันได้ ในกรณีที่ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีการดำรงชีวิต กรุณาสอบถามบุคคลรอบข้างของท่าน หรือ ถ้ามีปัญหาต่างๆเกิดขึ้น กรุณาปรึกษาบุคคลที่ท่านคิดว่า ไว้ใจและเชื่อถือได้

ณ.จุดนี้จะขอแนะนำเกร็ดทีละเล็กละน้อยเพื่อเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตในประเทศญีปุ่น


ประเด็นที่1 : การติดต่อสื่อสาร
  • คำทักทาย
  • ตามโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมเกือบทุกแห่ง จะเน้นให้เด็กนักเรียนทุกคนรู้จักคำทักทายที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า“โอ-อา-ชิ-ซา”โอคือ โอฮาโยะโกะไซมัส ซึ่งหมายถึง อรุณสวัสดิ์อาคือ อาริกะโตะโกะไซมัส แปลว่าขอบคุณ (ค่ะ/ครับ) ชิคือ ชิทซึเรอิชิมัส แปลว่าขอประทานโทษ ใช้ทักทาย ก่อนเข้าหรือออกจากห้อง หรือจะขอตัวกลับก่อน ซา คือ ซาโยนาระแปลว่าลาก่อนใช้เมื่อเวลาก่อนจะอำลาแยกย้ายจากกัน
  • ถ้าหากเราใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านละแวกเดียวกัน เวลาเดินผ่านคนในหมู่บ้าน ก็จะได้ยินคำทักทายเช่นนี้เสมอ ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อน ก็มักจะได้ยินคำทักทายว่า “ เคี่ยว วะอัทซุ่ย เดสเน่”แปลว่า“วันนี้อากาศร้อนนะ” ช่วงฤดูหนาวก็มักจะได้ยินคำว่า “เคี่ยว วะ ซามุ่ย เดสเน่”แปลว่า“วันนี้อากาศหนาวนะ” เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะ มีสี่ฤดูกาลอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลนั้นๆ
  • ซึ่งคำทักทายเหล่านี้แตกต่างจากคนไทย ที่มักจะถามว่า “ไปไหนมาหรือ” “กำลังจะไปไหนหรือ” “ทานข้าวมาแล้วหรือ” เป็นคำถามที่เป็นเรื่องส่วนตัวจนเกินไป ฟังแล้วดูไม่สุภาพจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นคำทักทายในญี่ปุ่น

  • คำนำหน้าในการเรียกชื่อคู่สนทนา
  • วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่มีการแบ่งเป็น “อุจิ”แปลว่า “ภายใน”และ “โซโตะ” แปลว่า”ภายนอก” มีอิทธิพล ต่อการ ใช้คำนำหน้าในการเรียกคู่สนทนา เป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นจะไม่ใส่คำนำหน้านาม“ซัง”แปลว่า“คุณ”เวลาเอ่ยถึง คน”ภายใน”ครอบครัว (สามี ภรรยา บุตร) หรือแม้แ่ต่ ผู้ร่วมงานในบริษัทเดียวกัน เช่นเวลามีโทรศัพท์ถึงคนในหน่วยงานเดียวกัน และคนๆนั้นไม่อยู่ เวลาเอ่ยถึงคนที่ไม่อยู่ จะเรียก แต่นามสกุล โดยไม่ใส่คำว่า “ซัง”ตามหลังชื่อสกุลคนๆนั้น เพราะถือว่าเป็นคน “ภายใน”หน่วยงานหรือบริษัทเดียวกัน
  • เวลาเรียกชื่อคู่สนทนาที่อยู่ต่อหน้าเรา (ที่มิใช่คนในครอบครัว) ต้องเรียกนามสกุล ตามด้วย”ซัง” แม้ว่าคนๆนั้นจะด้อยอาวุโสกว่าก็ตาม เช่น เวลาครู เรียกลูกศิษย์ ด.ช.ยามาดะ จะเรียกว่า“ยามาดะซัง” แม้แต่คนในบริษัท ถ้าเป็นคู่สนทนาโดยตรง ก็ต้องใส่”ซังตามหลังนามสกุลเช่นกันเพราะมิใช่คนในครอบครัว ไม่ใส่เวลาเอ่ยถึงเค้าภายในบริษัทเท่านั้น

มารยาทเวลาได้รับเชิญไปทานข้าวที่บ้านคนญี่ปุ่น
 ถ้าหากเราได้รับเชิญไปทานข้าวที่บ้านของคนญี่ปุ่นควรไปตรงตามเวลานัดถ้าไปไม่ทันตามเวลา เช่นรถติด ก็จะต้องโทรศัพท์ไปแจ้งให้เจ้าของบ้านให้ทราบสาเหตุที่จะต้องไปช้ากว่าเวลา
 และควรนำของเล็กๆน้อยๆ เช่นขนม ผลไม้หรืออาจเป็นของที่ระลึกจากเมืองไทยติดมือไปด้วยเพื่อแสดงถึงความมีน้ำใจของเราในกรณีที่เจ้าของบ้านถามว่าทานอะไรไม่ได้บ้างควรจะบอกตามตรง

ล่วงหน้าเพื่อเจ้าของบ้านจะได้เตรียมอาหารได้ถูกต้อง เช่น ไม่ทานเนื้อ ไม่ทานปลาดิบ เป็นต้น
  • มารยาทขณะรับประทาน
  •   คนญี่ปุ่นก่อนที่่จะเริ่มรับประทานอาหาร จะพูดประโยคว่า “อิตาดาคิมะสุ”ซึ่งมีความหมายว่า เราจะเ้ริ่มรับประทานอาหารกันแล้ว และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะพูดประโยคว่า“โกจิโซซามะเดะชิตะ”แปลว่า “ขอขอบคุณสำหรับอาหารที่อร่อยมื้อนี้”
  • มารยาทขณะรับประทาน
  • ควรชมรสอาหารว่าอร่อยถูกปาก เพื่อแสดงความชื่นชมและเป็นการแสดงการขอบคุณที่เจ้าของบ้านอุตส่าห์ตระเตรียมอาหารมื้อนี้ให้กับเรา โดยคนญี่ปุ่นมักจะพูดว่า “โออิชิอิ เดะสุเนะ”แปลว่า“อร่อยจังเลย”
     คนญี่ปุ่นจะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อควรระวังในการใช้ตะเกียบเวลารับประทานอาหาร
     ไม่ควรใช้ตะเกียบของตัวเองตักกับข้าวแต่ควรใช้ช้อนกลาง หรือตะเกียบกลางที่เจ้าของบ้านเตรียมให้ แต่ถ้าไม่มีช้อนกลางเวลาใช้ตะเกียบตัวเอง ขอให้กลับปลายตะเกียบอีกข้างหนึ่งคีบกับข้าว
     ไม่ควรใช้ตะเกียบพุ้ยขัาวเข้าปากแต่ควรใช้ตะเกียบคีบข้าวเป็นคำๆ
     ห้ามเอาตะเกียบของตัวเอง ช่วยคีบกับข้าวให้อีกฝ่ายเพื่อให้อีกฝ่ายรับด้วยตะเกียบเพราะการกระทำแบบนี้ จะทำเฉพาะคนสองคนที่ช่วยกันคีบกระดูกของคนตายที่เผาแล้วเท่านั้น
     ห้ามเสียบตะเกียบตั้งอยู่ตรงกลางชามข้าว เพราะจะทำในงานศพของผู้เสียชีวิตเท่านั้น
     ไม่ควรตักกับข้าวราดบนจานและคลุกทานแบบไทยๆ ยกเว้นเวลาทานข้าวกับนัตโตะไข่ดิบหรือกับแกงกะหรี่ญี่ปุ่น เป็นต้นเพราะการคลุกจะทำเมื่อให้อาหารสัตว์เท่านั้น
  • การกล่าวคำอำลา
  • หลังจากทานอาหารเสร็จ และขอตัวลากลับบ้าน ควรกล่าวคำขอบคุณเจ้าของบ้านอีกครั้ง “เคียววะ โดโมะอาริงาโตะโกไซมาชิตะ” พร้อมกับกล่าวคำ “ราตรีสวัสดิ์”เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “โอยาซูมินาไซ” หรือ “ลาก่อน” “ซาโยนาระ”
     นอกจากนี้ เราอาจเขียนการ์ดขอบคุณที่เจ้าของบ้านมีน้ำใจเชิญเราไปร่วมรับประทานอาหารในมื้อนั้น หรือถ้าไม่มีเวลาก็อาจจะใช้วิธีโทรศัพท์แทนก็ได้ในวันถัดไป

ระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น

ระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น จะแบ่งเป็น ๔ ระดับ คือ ๑)ระดับประถมศึกษา ๖ปี ๒)ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๓ปี ๓)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย๓ปี ๔)ระดับมหาวิทยาลัย ๔ปี(หรือวิทยาลัย ๒ปี) การศึกษาภาคบังคับคือถึงระดับมัยมศึกษาตอนต้น ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมากนัก แต่จะขอเอ่ยถึงบทบาทของผู้ปกครองต่อโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นเกร็ดความรู้ที่ผู้ปกครองทุกท่านควรจะทราบก่อนที่ส่งบุตรหลานของท่านเข้าเรียน ซึ่งจะขอเริ่มตั้งแต่ชั้นประถม โดยปกติเมื่อบุตรของท่านมีอายุเข้าเกณฑ์ที่จะเรียนชั้นประถม(อายุครบ๖ปีนับจากวันที่๒เมษายนของปีที่จะเข้าเรียนถึง๑เมษายนของปีถัดไป) โดยทั่วไปถ้าเป็นโรงเรียนของรัฐ ทางโรงเรียนในเขตท้องที่ที่คนต่างชาติลงทะเบียนคนต่างด้าวจะมีจดหมายแจ้งมาถึงผู้ปกครองให้ทราบถึงระเบียบการและกำหนดการต่างๆเช่นการตรวจสุขภาพ สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่ได้รับจดหมายแจ้ง ขอให้ติดต่อได้ที่หน่วยงานฝ่ายการศึกษาของที่ว่าการอำเภอในเขตที่อาศัยอยู่เพื่อแจ้งความจำนงค์ที่จะส่งบุตรของตนเข้าเรียนถ้าไม่สามารถสื่อสารได้กรุณาพาเพื่อนที่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นไปด้วย

การเตรียมตัวของผู้ปกครอง
โดยปกติ ถ้าเป็นโรงเรียนของรัฐ ไม่้ต้องเสียค่าเทอม หรือค่าหนังสือ แต่จะต้องเสียค่าอาหารกลางวัน ค่ากระเป๋านักเรียน (รันโดเซล) ชุดพละศึกษา รองเท้าใส่ในโรงเรียน(เด็กนักเรียนจะต้องเปลี่ยนสวมรองเท้าที่ใช้เฉพาะภายในอาคารของโรงเรียน) อุปกรณ์การเรียนเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น เครื่องเขียน ชุดเริ่มหัดคำนวณโดยปกติ ผู้ปกครองจะเป็นผู้จัดหาตัดเย็บกระเป๋าสำหรับใส่อุปกรณ์เหล่านี้หรือถ้าไม่มีเวลาตัดเย็บก็หาซื้อได้จากร้านที่ทำสำเร็จรูปอุปกรณ์การเรียนทุกๆชิ้นจะต้องเขียนชื่อ นามสกุล ชั้นเรียน ห้องเรียน อย่างชัดเจน การติดต่อระหว่างครูและผู้ปกครอง จะผ่านโดยทางจดหมายที่ทางโรงเรียนส่งผ่านเด็กนักเรียน บางครั้งก็เขียนใส่ลงในสมุดติดต่อ(เรนระกุโจ) ฉะนั้นผู้ปกครองควรหมั่นตรวจตราอ่านสมุดติดต่อทุกวัน เพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหวและกิจกรรมของทางโรงเรียน บางโรงเรียน จะเก็บค่าอาหารกลางวัน หรือสั่งซื้ออุปกรณ์การฝีมือฯลฯโดยใส่ซองจดหมาย(ชูคินบูคุโระ)แนบมากับสมุดติดต่อนี้ผู้ปกครองที่ไม่สามารถอ่านภาษาญี่ปุ่นได้ ควรขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านชาวญี่ปุ่นที่มีบุตร และอาศัยอยู่ใกล้เคียง หรือติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์รับปรึกษาปัญหาสำหรับคนต่างชาติ จังหวัดอิบารากิ โดยปกติ เด็กๆจะเดินไปโรงเรียนทุกๆเช้าตามกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในเขตเดียวกัน เด็กรุ่นโตจะคอยดูแลเด็กรุ่นน้อง ผู้ปกครองจะต้องมีเวรผลัดกันมาโบกธง เวลาเด็กต้องข้ามถนนเพื่อมาโรงเรียนในตอนเช้า (ริชโชโทบัง)

กิจกรรมในโรงเรียน
เมื่อเริ่มเปิดภาคการศึกษาใหม่ ครูประจำชั้นจะต้องออกไปเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียนและแนะนำตัวกับผู้ปกครอง (คาเตโฮมง) ในแต่ละเทอม จะมีจดหมายเชิญผู้ปกครองมาชมการเรียนการสอน (จูเงียวซังคัง) ในห้องเรียนที่เด็กประจำอยู่สำหรับชั้นป.๑ โรงเรียนจะจัดโปรแกรมให้ผู้ปกครองมาลองชิมอาหารกลางวันร่วมกับบุตรด้วย เด็กๆจะผลัดเวรเสริฟอาหารกันเอง

กิจกรรมหลักๆที่สมาคมผู้ปกครองและครูบาอาจารย์จัดร่วมกันคือการทำความสะอาดบริเวรรั้ว และรอบโรงเรียน เช่นถอนหญ้าช่วงมีการแข่งกีฬา(อุนโดไค)ประจำโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะจัดปิ่นโตและเข้าร่วมเชียร์กีฬา มีรายการที่ผู้ปกครองต้องเข้าร่วมแข่งคู่กับบุตรของตน โดยทั่วไปการแข่งขันจะแบ่งเป็นสองทีมคือ ทีมสีแดง กับทีมสีขาว ถ้าเป็นโรงเรียนแถบชนบทหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ก็จะร่วมกันทำขนมโมจิ ข้าวเหนียวถั่วแดง แจกจ่ายเด็กๆทั่วทั้งโรงเรียน

นอกจากนี้ในแต่ละเขต จะมีชมรมเด็กในหมู่บ้าน(โคโดโมะไค) ที่จะเก็บค่าสมาชิกจากแต่ละครอบครัวเพื่อเป็นกองทุนในการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่นเข้าร่วมงานขัตฤกษ์ของหมู่บ้าน จัดงานทัศนาจรบริหารกายตามส่งเสียงทางสายวิทยุ(ราจิโอไทโซ) คริสตมาสปาร์ตี้ ถ้าหากค่าสมาชิกไม่พอ ก็จะจัดกิจกรรมขายของ บาร์ซ่า หรือรวบรวมขวดเปล่า หนังสือพิมพ์เก่า ไปขายมาเป็นกองทุนสมทบในการซื้อของขวัญมาแจกเด็กๆ

 
พิธีการสำคัญ(คังคงโซซาอ)

เกร็ดความรู้ที่จะกล่าวในครั้งนี้ คือคำว่า “คังคงโซซาอิ” ซึ่งเป็นคำที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะคำๆนี้เกี่ยวข้องกับพิธีการต่างๆที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนและยังถือปฏิบัติกันมา(しきたり)จนถึงปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะเรียนรู้ และศึกษาเพื่อจะได้ใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่น

อย่างมีความสุข

คำว่า “คัง” 冠หมายถึงพิธีฉลอง หรือพิธีแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆในที่นี้จะขอกล่าวเพียงบางพิธีเท่านั้น เช่น

โอบิอิวาอิ 帯祝い ผ้าคาดเอว หรือผ้ารัดเอวสำหรับสตรีตั้งครรภ์เมื่อสตรีตั้งครรภ์ย่างเข้าเดือนที่ห้า จะมีพิธีการให้ผ้ารัดเอว หรือผ้าคาดเอว ซึ่งเป็นพิธีการสวดภาวนาให้สตรีและเด็กทารกปลอดภัย และอธิษฐานให้คลอดด้วยความปลอดภัย

ชุทซังอิวาอิ 出産祝いพิธีฉลองการมีบุตรหรือการแสดงความยินดีในโอกาสคลอดบุตร เป็นการฉลองแสดงความยินดีให้กับสตรีและเด็กทารกที่ลืมตาขึ้นมาในโลกโดยทั่วไปมักจะให้ของขวัญทีเกี่ยวข้องกับเด็กทารก เช่น ผ้าอ้อมเด็กเสื้อผ้าเด็กอ่อน ของเล่นเด็กถ้าเป็นญาติมิตร หรือเพื่อนสนิท อาจให้ของขวัญเป็นเงิน หรือเช็คกำนัลของขวัญ ฯลฯ

อุจิอิวาอิ 内祝い คือการให้สิ่งของตอบแทนของขวัญที่ได้รับ ในญี่ปุ่นจะแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อของขวัญที่ได้รับโดยการมอบของขวัญแทนเช่นการแสดงความยินดีสำหรับการคลอดบุตร และงานฉลองอื่นๆจะให้ของขวัญตอบแทนเป็นข้าวเหนียวแดง 赤飯และน้ำตาลสีขาว-แดงเพื่อเป็นการแบ่งปันความยินดีให้กับผู้ที่ส่งของขวัญมาอวยพร

โอมิยามาอิริお宮参りการไปนมัสการศาลเจ้าของเด็กเกิดใหม่คือการนำเด็กทารกอายุ หนึ่งเดือน ไปนมัสการศาลเจ้าอุจิคามิซามะ

(氏神様ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านหรือเมือง) โดยทั่วไป แม่เด็กพ่อเด็ก และยายจะไปด้วย เพื่อไปสวดภาวนาขอให้เด็กเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ภายใต้การคุ้มครองของเทพเจ้า บางครั้งก็มากันทั้งครอบครัวและร่วมกันถ่ายรูปกันในบริเวรศาลเจ้า โดยมีเด็กทารกน่ารักในชุดกิโมโนเป็นจุดเด่นอยู่

ขั้นตอนการพาเด็กเกิดใหม่ไปนมัสการศาลเจ้าชินโต

โดยทั่วไปจะพาเด็กชายอายุ 31วัน หรือ32 วัน หลังคลอด ส่วนเด็กหญิง อายุ 32วันหรือ 33วัน บางครั้งอาจพาไปทำพิธี ในวันที่อายุครบ 50 วันหรือ

100 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับท้องถิ่นนั้น ในปัจจุบันนี้มักพาเด็กไปทำพิธีในวันหยุด ของบิดามารดาเสื้อผ้าที่ใช้คลุมเด็กมักนิยมใช้กิโมโน ถ้าในตระกูล มีสัญลักษณ์ประจำตระกูลที่เรียกว่า คะมง 家紋 ก็จะให้คะมงอยู่ด้านหลังบนตัวเด็กที่อุ้มไว้ในวงแขนของแม่หรือยาย ดึงสายคาดเส้นใดเส้นหนึ่งที่ติดกับกิโมโนไปรอบหลังแม่หรือยายแล้วมัดสายคาดทั้งสองเส้นเข้าด้วยกันที่ไหล่ ที่ศาลเจ้า พระ(ศาสนาชินโต)จะสวดมนต์ภาวนาและประกอบพิธีโอฮาราอิお祓い(พิธีขับไล่ผี หรือวิญญาณชั่วร้ายเพื่อสร้างความบริสุทธิ์)เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตสุขภาพแข็งแรง แต่ถ้าไปนมัสการศาลเจ้าที่ไม่มีพระอยู่ ก็จะโยนเงินลงในกล่องบริจาค จากนั้นก็สั่นระฆังเพื่อภาวนาให้เจ้าคุ้มครองสำหรับพ่อแม่บางรายจะถวายเงินแก่พระโดยห่อไว้ใน

โนชิ บุคุโระ熨斗袋พร้อมกับอนฮัทซึโฮเรียว御初穂料(พืชผลเป็นครั้งแรก หรือของเซ่นไหว้อื่นๆ) หรืออนทามะกุชิเรียว御玉串料

(กิ่งไม้ศักดิ์สิทธิ์ในฤดูใบไม้ผลิ) และเขียนชื่อไว้ข้างบน

ในบางท้องถิ่นมีการบีบจมูกเด็กให้ร้องไห้โดยหวังว่าเทพเจ้าจะทรงยอมรับเด็กจากเสียงร้องนั้น และในบางท้องถิ่นมีการเขียนตัวอักษรจีน ได大(ใหญ่) ไว้บนหน้าผากของเด็กชาย และเขียนคำว่า โช小(เล็ก) ไว้บนหน้าผากของเด็กหญิง เพื่อเป็นมนต์สะกัดกั้นวิญญาณร้ายทั้งหลาย

โอคุอิโซะเมะお食い初め เป็นพิธีให้เด็กรับประทานข้าวครั้งแรก หลังคลอดได้ 100 วัน เพื่อเป็นการภาวนาให้เด็กไม่ประสบความเดือดร้อนเรื่องอาหารตลอดกาล

เซ็กขุ節句、節供 หมายถึง การทำอาหารพิเศษ และหลังจากถวายเทพเจ้าแล้วจะรับประทานกันในเทศกาลเฉพาะ สำหรับเด็กผู้หญิงคือ

เทศกาลตุ๊กตา ฮินะมาซึริひなまつりตรงกับวันที่3มีนาคม จัดเป็นวันขัตฤกษ์วันหนึ่งที่มุ่งหวังให้เด็กหญิงเจริญเติบโตแข็งแรงและสวยงาม

ประวัติความเป็นมาของเทศกาลตุ๊กตาฮินะเริ่มมาจากการเล่นตุ๊กตากระดาษ ฮินะ-อะโซบิ ひな–あそびซึ่งเป็นการเล่นตุ๊กตากระดาษของ

บรรดาบุตรีของขุนนางสมัยเฮอัน(ค.ศ.794-1192) จากความคิดที่ว่า ตุ๊กตาช่วยปกป้องผู้คนจากโรคภัยไข้เจ็บหรือความโชคร้าย หลังจากนำไปไหว้เจ้าแล้วจะนำไปลอยน้ำ ตั้งแต่กลางสมัยเอโดะ(ค.ศ1603-1868) หรือราวศตวรรษ ที่ 18 เป็นต้นจึงเริ่มทำตุ๊กตาฮินะที่หรูหราอย่างเช่นปัจจุบันนี้ และเก็บรักษาประดับไว้ในเทศกาลตุ๊กตาของทุกปีนอกเหนือจากชุดตุ๊กตา 15ตัว อันหรูหราที่ประดับบนหิ้งแล้ว ยังมีชุดดุ๊กตาคู่เฉพาะจักรพรรดิกับจักรพรรดินี กับชุดตุ๊กตาขนาดเล็กที่บรรจุอยู่ในกล่องกระจกโดยปกติปู่ย่าตายายจะให้ชุดตุ๊กตาฮินะแก่หลานเป็นการฉลอง วันเทศกาลตุ๊กตาครั้งแรกนับจากเด็กเกิดเรียกว่า ฮัทซึ-เซ็กขุ 初節句เนื่องจากเทศกาลนี้ตรงกับฤดูกาลดอกท้อกำลังบาน จึงมีการประดับดอกท้อ 桃บางบ้านจะมีการเตรียมอาหารพิเศษ และเชิญเพื่อนๆที่โรงเรียนอนุบาลมาร่วมฉลองอย่างสนุกสนาน

สำหรับการฉลองของเด็กผู้ชายนั้น จะตรงกับ วันที่5 พฤษภาคม ซึ่งเรียกว่า ทังโกะโนะเซ็กขุ 端午の節句 วันนี้ถือเป็นวันหยุดประจำชาติ เรียกว่าวันเด็กจัดขึ้นเพื่ออวยพรให้เด็กเติบโตแข็งแรงมีความสุขโดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตรชายภายในสวนจะชักธงรูปปลาคาร์พ 鯉のぼりขึ้นสูงสู่ฟ้า (โคอิ-โนโบริ ) กล่าวกันว่า ปลาคาร์พเป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นผู้ชายการเชิญธงเป็นการอธิษฐานขอให้เด็กผู้ชายเอาชนะความยากลำบากทั้งปวงในชีวิตตามตำนานจีนที่ว่าปลาคาร์พที่แข็งแรงเท่านั้นถึงจะสามารถว่ายทวนกระแสน้ำตกที่เชี่ยวกรากที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเหลืองเพื่อจะเป็นมังกรในที่สุด สีและขนาดต่างๆก็มีความหมายต่างกันไป โคอิโนโบริ สีดำขนาดใหญ่ หมายถึงพ่อ สีแดงขนาดใหญ่หมายถึงแม่ ส่วนขนาดเล็กๆหมายถึงลูกๆส่วนฟูคินางาชิ 吹き流しผืนผ้าที่ปลิวสบัดตามลม หมายถึงกระแสน้ำตกที่ปลาคาร์พพยายามจะแหวกว่ายขึ้นไป

โดยปกติจะชักโคอิโนโบริ ตอนกลางเดือนเมษายน ในบริเวณสวนหลังบ้าน ในกรณีที่บ้านไม่มีสวน จะใช้ชุดเล็กๆแล้วติดไว้ที่หน้าต่างหรือเสาระเบียงบ้าน นอกจากนี้บางแห่งจะมีการประดับตุ๊กตาที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 3 ชนิด คือตุ๊กตาโชคิ 鐘馗เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางสามารถขับไล่วิญญาณชั่วร้ายได้ คินโทคิ金時คินทาโระ 金太郎ตั้งชื่อตามเด็กผู้ชายที่สามารถปราบหมีใหญ่ได้ วาคามุชะ若武者นักรบหนุ่มที่สวมเสื้อเกราะโยโรอิ鎧พร้อมหมวกเหล็กคาบุโตะ兜นอกจากนี้อาจประดับตกแต่งเฉพาะดาบ หรือหมวกเหล็กนักรบไว้ลำพังนอกจากนี้มีการรับประทานชิมาขิ ちまきขนมบ๊ะจ่างญี่ปุ่นซึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียวห่อด้วยใบไผ่แล้วนึ่ง ซึ่งสมัยก่อนห่อด้วยใบต้นชิกายะ茅

และขนมคาชิวะโมจิ柏もちขนมแป้งข้าวที่นวดแล้วแผ่เป็นรูปไข่ยัดไส้ถั่วแดงหวานบดนำไปนึ่งและ ห่อด้วยใบโอ๊ก

บางครอบครัวก็จะอาบน้าในอ่างที่แช่ด้วยใบหรือรากของต้นไอริสหรือโชบุ菖蒲 ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยขับไล่วิญญาณร้ายออกไป

ชิจิโกะซัน七五三งานฉลองรับขวัญเด็กอายุ7-5-3 เป็นงานฉลองสำหรับเด็กซึ่งจัดขึ้นในช่วงอายุที่เด็กเติบโตเพื่อขอให้เด็กเจริญเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ในวันที่ 15พฤศจิกายน เด็กผู้ชายอายุ 3 และ 5 ขวบ กับเด็กผู้หญิง อายุ 3 และ 7 ขวบจะแต่งตัวด้วยชุดกิโมโน ไปนมัสการอุจิคามิสะมะ 氏神様 (ศาลเจ้าคุ้มครองประจำหมู่บ้านหรือเมือง)พร้อมพ่อแม่ปู่ย่าตายาย จากนั้นก็ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แล้วให้เด็กทานชิโทเซ-อาเมะ

千歳飴(ลูกกวาดอำนวยโชคเป็นลูกกวาดแท่งยาวสีแดงขาว มีความหมายว่า ลูกกวาดอายุ 1000ปี ดังนั้นจึงกล่าวกันว่าเด็กที่ได้กินลูกกวาดนี้จะได้รับพรให้มีความสุยขถึง 1000ปี และมีอายุยืน)และมีงานเลี้ยงฉลองภายในสมาชิกครอบครัว

ขั้นตอนของการไปนมัสการศาลเจ้าเมื่ออายุครบ 3.5หรือ 7 ขวบ

เด็กผู้ชาย 3 และ 5 ขวบ กับเด็กผู้หญิง 3 และ 7 ขวบจะแต่งตัวอย่างหรูหรา สำหรับงานฉลองนี้ เช่นเด็กชายจะสวม ฮาโอริ 羽織(เสื้อคลุมทับกิโมโน)โดยมีคะมง家紋(สัญลักษณ์ประจำตระกูล)ย้อมสีอยู่ด้านหลัง紋付羽織 และสวมฮาคามะ (กระโปรงกางเกงแบบญี่ปุ่นยาวคลุมข้อเท้า) ส่วนเด็กหญิงจะสวมกิโมโนพ่อแม่ก็จะแต่งกายอย่างเป็นพิธี ไปนมัสการอุจิคามิซามะพร้อมเด็ก เพื่อขอบคุณพระเจ้าที่ประทานพรให้เด็กเจริญเติบโตสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมทั้งภาวนาให้เด็กมีความสุข และสุขภาพดีในอนาคต อาจมีการทำพิธี โนริโตะ 祝詞(บทสวดภาวนาต่อเทพเจ้าชินโต)และพิธีโอฮาราอิ (พิธีขับไล่วิญญาณชั่วร้ายเพื่อสร้างความบริสุทธิ์) โดยพระชินโตเป็นผู้ประกอบพิธี จากนั้นก็มีการถวายฮัทซึโฮเรียว 初穂料ถวายพืชผลที่เก็บเกี่ยวครั้งแรกของปี) เป็นการถวายเงินชนิดหนึ่งซึ่งศาลเจ้าบางแห่งจะเป็นผู้กำหนดจำนวนเงิน

พิธีฉลอง การบรรลุนิติภาวะ 成人の日 Coming of Age Day

ทางราชการกำหนดให้ วันจันทร์ที่สองของเดือนมกราคมทุกปี เป็นวันฉลองของวันนี้สำหรับคนญี่ปุ่นถือว่าเป็นวันสำคัญทีสุดวันหนึ่งของชีวิตในวัยหนุ่มสาวและเป็นวันหยุดแห่งชาติ ในวันนี้แต่ละเขตตำบล อำเภอ หมู่บ้าน จะจัดพิธีมอบประกาศนียบัตร ให้กับบุคคลที่มีอายุครบ ยี่สิบปี ในพิธีบรรลุนิติภาวะ หรือ 成人式Seijin Shiki

 

ประวัติความเป็นมาของวันนี้ มาจากพิธี ที่จัดขึ้นในสมัยโบราณเพื่อรับรองว่าเด็กผู้ชายที่มีอายุครบ ยี่สิบปีบริบูรณ์ ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ที่เรียกว่า 元服 Genpuku หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปีโชวะ 21 (ค.ศ.1946) ทางรัฐบาลญี่ปุ่นมีจุดประสงค์ที่จะเสริมสร้า้งขวัญและกำลังใจให้กับหนุ่มสาว เพื่อก่อให้เกิดความหวังใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยครั้งแรกเรียกพิธีนี้ว่า 成年式 Seinen Shikiต่อมาปี โชวะ 23(ค.ศ.1948) ได้กำหนดให้ ทุกวันที่15 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่จัดพิธีและเมื่อปีค.ศ. 2000 ได้เปลี่ยนเป็น วันจันทร์ที่สองของเดือนมกราคมทุกปี

คำว่า 成人 Seijin แปลว่า ผู้ใหญ่ หมายถึงเป็นผู้ที่สามารถรับผิดชอบตัวเองในทางปฏิบัติ

ผู้ที่จะบรรลุนิติภาวะ และเข้าร่วมพิธีฉลองได้นั้น จะกำหนดให้ผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ วิธีคำนวณอายุนั้น อาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละเขต แต่โดยทั่วไป จะนับจากผู้ที่มีอายุครบ20ปี ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน ของปีที่แล้ว ถึง 1 เมษายน ปีนี้เพราะญี่ปุ่นตั้งปีงบประมาณตั้งแต่ 1 เมษายนเป็นต้นไปทางหน่วยราชการของแต่ละเขตจะส่งจดหมายเชิญไปยังผู้ที่มีอายุครบยี่สิบปี ให้มาร่วมพิธีมอบประกาศนียบัตร ที่หอประชุมใหญ่ในเขตที่ผู้นั้นลงทะเบียนราษฎร

 

ในวันพิธีฉลอง หญิงสาวมักจะใส่ชุดกิโมโน 着物Kimono แขนปล่อยชายยาวที่เรียกว่า振袖 Furisode ที่มีสีสันสวยงามมาก ชุดกิโมโนแบบนี้ คือสัญลักษณ์ ที่แสดงความเป็นสาวเต็มตัว พร้อมกันนี้ก็จะมีการทำผม แต่งหน้า ปัจจุบัน ผู้ปกครองและหญิงสาว มักนิยมเช่าชุดกิโมโน จากร้านที่สนนราคา ประมาณ 5-6 หมื่นเยนแต่ถ้ารวมทั้งค่าแต่งหน้า ค่าทำผม ค่าถ่ายรูปในสตูดิโอ พร้อมอัลบั้มแล้ว ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายรวม8-9 หมื่น

สำหรับเครื่องแต่งกายของหนุ่มชาวญี่ปุ่นนั้น โดยทั่วไปนิยมใส่สูท หรือชุดกิโมโนผู้ชายที่เรียกว่า 羽織袴 Haorihakamaในวันนั้นสำหรับชายหนุ่มญี่ปุ่น ถือว่าเป็นการประกาศความเป็นผู้ใหญ่ของตนเอง การฉลองกับเพื่อนในกลุ่ม ก็จะมีการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อประกาศว่าสามารถดื่มได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่บางครั้งก็ก่อความรำคาญ ความวุ่นวาย เพราะขาดสติที่จะควบคุมตนเอง เนื่องจากความมึนเมาของสุราบางครอบครัวก็อาจจัดงานฉลองภายในครอบครัว หรือหนุ่มสาวบางกลุ่มก็อาจจัดฉลองระหว่างเพื่อนที่จบสถาบันเดียวกัน ฯลฯ

พิธีฉลองการเข้าอนุบาลการเข้าเรียนระดับประถม และพิธีฉลองการจบการศึกษา 入園Nyu En.入学祝いNyugaku Iwai.

卒業祝い Sotsugyo Iwai

เป็นการฉลองสำหรับที่กำลังจะเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนประถมโดยทั่วไป ไม่ได้มีธรรมเนียมพิเศษ ครอบครัวไหนที่มีเด็กที่กำลังจะเข้าเรียนใหม่ ญาติและเพื่อนสนิท จะนิยมให้ของขวัญเป็นเครื่องเขียนเช็คของขวัญกำนัลประเภทหนังสือ หรือให้เป็นเงินสด พร้อมช่อดอกไม้ที่มีสีสันสดใสเพื่อแสดงการเริ่มต้นสิ่งใหม่บางตรอบครัวจะมีการทานอาหารนอกบ้าน การฉลองการจบการศึกษาก็จะมีวิธีคล้ายเคียงกันทีมอบเงิน ช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีให้กับผู้จบการศึกษาใหม่

พิธีฉลองการมีงานทำ就職祝いShushoku Iwai มักจะฉลองโดยการให้เงินเป็นของขวัญหรือสิ่งของที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เริ่มเข้าทำงานใหม่

พิธีฉลองครบรอบวันเกิด 誕生日祝いวันครบรอบวันแต่งงาน 結婚記念日มีการมอบช่อดอกไม้ กับของขวัญเช่นครบรอบการแต่งงาน 25 ปี (เงิน)銀婚式 ครบรอบแต่งงาน 50ปี (ทอง)金婚式บางคู่สมรสอาจจัดพิธีฉลองภายในครอบครัวที่ร้านอาหาร หรือโรงแรม

 

การฉลองการได้รับเลื่อนตำแหน่ง昇進Shoshin.栄転祝いEiten Iwaiส่วนมากมักจะฉลองกันภายในครอบครัวบางแห่งจะมีงานเลี้ยงส่งภายใน แผนกหรือสาขาที่ทำงานอยู่ถ้าเป็นพื่อนสนิทชิดชอบ ก็อาจให้ของขวัญเป็นเงิน

 

 
TOP